ปวดขา ชาขาบ่อยๆ ระวังเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท!!

f:id:wannabamm:20160602131706j:plain

 

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท พบมากในผู้สูงอายุ เกิดจากการเสื่อมโทรมของโครงสร้างกระดูกสันหลัง หรือเกิดจากการทำงานอย่างหนัก เช่น การยกของหนัก หรือเคยประสบอุบัติเหตุแล้วกระทบต่อบริเวณกระดูสันหลัง ซึ่งทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น และทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกสันหลัง โดยร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการสร้าง กระดูกงอก หรือหินปูนขึ้นมา เพื่อต้านการทรุดตัวดังกล่าว แม้ส่วนใหญ่กระดูกงอกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาจะไม่มีอาการ แต่บางรายอาจเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท และทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาท จนมีอาการปวดขา ชาขา ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเสื่อม พบว่าถ้ามีการทรุดตัวมากขึ้นจะทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด หรือบางรายผู้ป่วยก็พบว่าทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อน

อาการที่พบบ่อย

          หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทหรือ กระดูกทับเส้นประสาท ส่วนมากจะมีอาการปวดหลัง เป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน มีอาการปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ทำ ให้เดินได้ไม่ไกล ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ อาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง เป็นอาการเด่นของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ปวดมากหรือปวดน้อยขึ้นอยู่ว่ากดมากหรือน้อยเป็นสำคัญ ถ้าทิ้งไว้นาน เส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง อาการชา และอ่อนแรงของขาซีกนั้นจะเริ่มเด่นชัดขั้น อาการทั้งหมดจะเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป

วิธีการรักษา

          การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทหรือ กระดูกทับเส้น ทำได้หลายวิธีโดยแพทย์จะพิจารณาตามอาการของผู้ป่วย โดยมีวิธีรักษาดังนี้

1.การผ่าตัด

  1. รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดร่วมกับการผ่าตัด เพื่อช่วยลดอาการเกร็ง และบิดตัวของกล้ามเนื้อหลัง
  2. รักษาด้วยนวัตกรรมใหม่ (Nucloplasty)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.vejthani.com/TH/Article/12/ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท