อายุมากขึ้นต้องระวังเพิ่มขึ้น!! ข้อเข่าอักเสบ ข้ออักเสบ อาจมาเยือนคุณ

f:id:wannabamm:20160825131411j:plain

 

      หลายๆคน ช่วงวัยรุ่นหรือช่วงวันทำงานอาจใช้ชีวิตแบบสุดโต่ง ไม่สนใจสุขภาพหรือที่อาจเกิดขึ้นมาภายหลัง อย่างพวก ข้อเข่าอักเสบ ข้ออักเสบ อาการเหล่านี้มีหลายสาเหตุและหลายปัจจัย ลองไปดูกันค่ะว่า เมื่อเกิดขึ้นมาจริงๆเราจะมีวิธีลองรับอาการเหล่านี้ได้ยังไง

     ข้อเข่าอักเสบ โรคข้อเสื่อม เป็นการเปลี่ยนแปลงในเซลล์และเนื้อกระดูกอ่อนข้อต่ออย่างเป็นขั้นเป็นตอน จนทำให้โครงสร้างและการทำงานของกระดูกอ่อนเสียไป ซึ่งติดตามด้วยกระบวนการซ่อมแซมกระดูกอ่อนและปรับแต่งกระดูก การลุกลามของอาการข้อเสื่อมจึงแตกต่างกันไป บางรายเกิดการลุกลามอย่างรวดเร็วที่ข้อหนึ่ง แต่ข้ออื่นๆ กลับเป็นไปอย่างช้าๆ บางครั้งก็อาจจะดีขึ้นเอง นั่นคือ มีการซ่อมแซมให้คืนสภาพเดิมทำให้อาการปวดลดลง

อาหารที่ผู้ป่วยข้อเข่าอักเสบควรหลีกเลี่ยง

          ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแคลอรีสูงซึ่งจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะอาหารในกลุ่มวิตามิน เช่น วิตามินอี วิตามินซี เบตาแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยสร้างคอลลาเจน วิตามินเหล่านี้จะช่วยชะลอการลุกลามของข้อเสื่อมได้เล็กน้อย มีการศึกษาที่น่าสนใจในสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามินดีในเลือดต่ำจะมีความเสี่ยงต่อการลุกลามของข้อเสื่อมมากกว่าผู้ที่มีระดับวิตามินดีสูง ดังนั้น นอกจากจะต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว ควรออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมอด้วย

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคที่เกิดจากแพ้ภูมิตัวเอง จะมีอาการที่เด่นชัดในเรื่องข้ออักเสบเรื้อรัง ซึ่งก็สามารถมีอาการผิดปกติของระบบอื่นได้ อย่างเช่น ปอด ตา หลอดเลือด เส้นประสาท เม็ดโลหิต เป็นต้น ผู้ป่วยหลายคนที่อาการเจ็บตามข้ออยู่บ่อยๆ แต่คิดว่าคงไม่เป็นอะไรมาก หากลองสังเกตุอาการดีๆ เมื่อมีอาการข้ออักเสบเจ็บพร้อมกันหลายข้อ ทั้งสองข้างพร้อมกันเป็นระยะเวลานานเกิน 6 สัปดาห์ นั่นอาจเป็นอาการที่บอกว่า คุณกำลังเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อยู่นั่นเอง!!

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าเกิดจากความเสี่ยงทางพันธุกรรมร่วมกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสจากวารสารการแพทย์ต่างประเทศ มีรายงานผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ประมาณ 0.5 - 1% ของประชากรทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีการเก็บข้อมูลที่แน่ชัด โดยทั่วไปพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในอัตรา 1:5 - 1:10 และพบมากในหญิงวัยกลางคน

นี้เป็นเพียงอาการส่วนนึงเท่านั้นนะคะ สำหรับใครที่สนใจหรือสงสัยในอาการเหล่านี้ ลองไปปรึกษาแพทย์ด้านนี้ดูกันค่ะ พวกเขามีคำตอบให้คุณแน่นอนค่ะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก www.vejthani.com/TH/Article/273/ปวดข้อบ่อยๆใช่รูมาตอยด์หรือไม่

www.vejthani.com/bangkok-hospital-in-thailand/clinic_details.php?clinic_id=34