ตามส่อง!! ข้ออักเสบ โรคที่ใครเข้าใจผิดและมองข้าม

f:id:wannabamm:20160802160029j:plain

 

     ข้ออักเสบ ที่ใครหลายๆมองข้าม มองว่าไม่น่าจะเกิดกับตัวเรา มันห่างไกลไปนะ มองว่าเรายังไม่แก่และเข้าใจผิดๆว่า ข้ออักเสบจะเกิดเฉพาะกับคนวัยชรา วันนี้เราพาคุณมาส่องอาการเหล่านี้กันค่ะ ทุกคนจะได้หันมามองและใส่ใจสุขภาพตัวเราและคนรอบข้างมากขึ้นค่ะ

ข้ออักเสบคือ ภาวะที่เกิดจากการทำลายข้อต่อของร่างกาย ซึ่งมีหลายรูปแบบ อย่างเช่นที่พบมากคือข้อเสื้อม ที่เกิดจากการบาดเจ็บ ส่วนรูปแบบอื่นที่พบ เช่น โรคข้อสะเก็ดเงิน จากภาวะภูมิต้านตนเอง ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคเกาต์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์

อาการของผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์

อาการจะค่อยเป็นค่อยไป โดยมีอาการปวดตามข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้า เริ่มแรกจะปวดไม่มาก มักเป็นตอนกลางคืนและเวลาตื่นนอนตอนเช้า พอนานไปจะปวดมากขึ้น และพบว่าข้อจะบวมมากขึ้นจนเห็นได้ชัด รวมถึงจะเริ่มปวดบริเวณข้อที่ใหญ่ขึ้น เช่น ข้อศอก ข้อเข่า ข้อไหล่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง

การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีหลักการดังนี้

การรักษาสภาพจิตใจ คือการให้ความรู้เรื่องโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์กับผู้ป่วย ญาติ และผู้ใกล้ชิด โดยให้กำลังใจ และคอยช่วยเหลือในช่วงที่มีอาการปวดมาก บางรายอาจไปพบจิตแพทย์ เพื่อให้คำแนะนำหรือให้ยาลดความเครียด รวมถึงให้คำปรึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา เพราะเป็นโรคที่จำเป็นต้องใช้เวลาในการรักษานาน  เมื่อเริ่มปวดแรกๆ กินยาแก้ปวดก็พอทุเลา แต่ไม่หาย ต้องกินยาเพิ่มมากขึ้น บางคนซื้อยาชุดหรือยาลูกกลอนที่มีสารสเตียรอยด์มากินใหม่ๆ จะรู้สึกดีมาก แต่พอผ่านไปสักระยะก็จะช่วยไม่ได้ อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงจากยาสเตียรอยด์ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความพิการเร็วกว่าปกติ ซึ่งบางรายความพิการเกิดขึ้นรวดเร็วมาก จนไม่สามารถช่วยตัวเองได้ต้องนั่งอยู่บนรถเข็นตลอด

เริ่มเป็นระยะต้นๆ ข้อที่มักเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์

  • อาการอื่นๆ ที่พบได้ เช่น
  • ตาแดง
  • หลอดเลือดแดงอักเสบอุดตัน เป็นแผลจะรักษาหายยากมาก
  • เส้นประสาทส่วนปลาย โดยเฉพาะที่ข้อเท้า เป็นอัมพาต กระดกข้อเท้าไม่ได้
  • ปอด มีภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และปอดเป็นพังผืด

นี้เป็นเพียงอาการส่วนหนึ่งที่เรายกตัวอย่างมาให้ดูกันค่ะ หากใครที่สงสัยอาการทั้งของตัวเองหละคนรอบข้าง ลองเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกันค่ะ

http://www.vejthani.com/TH/Article/273/ปวดข้อบ่อยๆใช่รูมาตอยด์หรือไม่