ความรู้ดีๆที่อยากบอกต่อ กับ สแตนเลสเส้น สแตนเลสที่อยากให้คุณได้รู้จัก!!!

f:id:wannabamm:20170314122146j:plain

 

ผลิตภัณฑ์เส้นสแตนเลสคือออะไร ? 

ผลิตภัณฑ์เส้นสแตนเลสรวมถึง สแตนเลสใดๆ ที่ทำจากกระบวนการรีดร้อนด้วยสแตนเลสแท่งใหญ่ (blooms) และสเตนเลสแท่งหล่อ (ingots) เพื่อผลิตเป็นสแตนเลส แท่ง (semis) สแตนเลสเส้น (bars) และลวดสแตนเลส (wire)

สแตนเลสแท่ง (semis) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สแตนเลสแท่งยาว (billets) มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมขอบมน โดยปกติมักใช้กับวิธีการทุบขึ้นรูปร้อน (hot forging) (เช่น ตัววาล์ว) หรือไม่ก็ใช้วิธีการรีดร้อนซ้ำ ด้วยเครื่องรีดร้อนซ้ำแบบอิสระ (independent re-rollers)

สแตนเลสเส้น (bars)

สแตนเลสเส้นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 มม โดยปกติผลิตโดยตรงจากกระบวนการรีดร้อน ตามด้วยกรรม วิธีทางความร้อน กำจัดคราบสเกล ปรับความเรียบ และ  ปกติจะกลึง หรือ เจียรจนกว่าจะได้ค่าความเผื่อและผิวสำเร็จที่ต้องการ

สแตนเลสเส้นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 5 และ 20 มม ปกติจะทำกันในโรงงานรีดร้อน เส้นลวด (wire rod) ที่ได้จะนำไปอบอ่อนและล้างด้วยกรด ในการขึ้นรูปม้านั่งสามารถทำได้โดยตรงทันทีโดยวิธีการดัด (drawn)  จาก นั้นอาจจะต้องทำการเจียร (grinding) เพื่อปรับความหนาให้ได้ตามที่ต้องการ

สแตนเลสเส้นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า 5 มม จำเป็นต้องผ่านการขึ้นรูปเย็น  (cold-drawing) สแตนเลสเส้นส่วนใหญ่จะผ่านการไสกลึงให้เป็นชิ้นส่วนต่างๆ  บางชิ้นงานก็ยุ่งยากมากหากต้องทำให้ได้ความหนาที่ต้องการความแม่นยำสูง

คุณสมบัติสำคัญของสแตนเลส

1.คงทนต่อการกัดกล่อน หรือเป็นสนิม เนื่องจากเนื้อสแตนเลสจะสร้างฟิล์มบางๆ เรียกว่า PASSIVE FILM มาเคลือบผิวหน้าตลอดเวลาเมื่อผิวนั้นทำปฏิกิริยากับอ๊อกซิเจน (H2O) ที่มีอยู่ในบรรยากาศทั่วไป

2.ทำความสะอาดและดูแลรักษาง่าย เนื่องจากสแตนเลสไม่เกิดสนิมจึงสามารถทำความสะอาดได้ง่าย

3.แข็งแกร่ง เนื้อสแตนเลสมีความแข็งแกร่ง และมีจุดหลอมเหลวสูงกว่าเหล็กมาก ส่งผลให้ชิ้นงานที่ทำจากสแตนเลสมีความแข็งแรงทนทานมาก แต่การทำชิ้นงานจากสแตนเลสก็ทำได้ยากเช่นกัน อุปกรณ์สำหรับงานแปรรูป ตัด เจาะ หรือเชื่อม ต้องเป็นเฉพาะที่ใช้กับงานสแตนเลส

 

สแตนเลสแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก

1.MARTENSITIC เป็นกลุ่มที่มีส่วนผสมของโครเมี่ยม (Cr) ระหว่าง 12 – 18% โดยมีเกรด 403, 410, 414,416, 420, 431, 416, 440A/B/C, 501 และ 502 คุณสมบัติหลักคือ สามารถชุบแข็งได้ ซึ่งส่งผลให้เนื้อสแตนเลสมีความแข็งแกร่งมากและทนต่อการเสียดสีได้ดี จึงเหมาะกับงานทำชิ้นส่วนเครื่องมือ เครื่องจักร แต่แม่เหล็กสามารถดูดติดได้

2.FERRITIC เป็นกลุ่มที่มีโครเมี่ยม (Cr) อยู่ระหว่าง 12 – 18% และมีคาร์บอน (C) น้อยกว่า 0.2% สแตนเลสในกลุ่มนี้มีราคาถูกที่สุด ไม่สามารถรีดให้แข็งขึ้นได้ แม่เหล็กดูดติด และไม่สามารถชุบแข็งได้ มีโอกาสเป็นสนิมได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่น หากใช้งานในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม จึงนิยมนำมาใช้งาน บางชนิดที่ไม่สัมผัสกับกรดโดยตรง เช่น ฝอยขัดหม้อ ลวดรัดสายไฟฟ้า โครงโต๊ะวางเตาแก๊ส เกรดในกลุ่มนี้มี 405, 430, 442 และ 446

3.AUSTENITIC เป็นกลุ่มที่นิยมใช้กันมากที่สุด โดยมีโครเมียม (Cr) 10.5 -24% เมื่อเพิ่มนิเกิ้ล (Ni) จะทำให้สแตนเลสมีคุณสมบัติทนต่อสนิมและการกัดกร่อนได้ดี สามารถเพิ่มความแข็งด้วยการรีดเย็นได้ แม่เหล็กดูดไม่ติด แต่ไม่สามารถชุบแข็งได้ เกรดในกลุ่มนี้มี 201, 202, 301, 302, 303, 304, 305, 308, 309, 310, 314, 316, 347 และ 348

4.DUPLEX เป็นกลุ่มที่ผสมกันระหว่า AUSTENITIC และ FERRITIC ซึ่งนำข้อดีของทั้งสองกลุ่มมารวมกันเพื่อวัตถุประสงค์ของการใช้งานเฉพาะเจาะจงบางประเภท ซึ่งไม่ค่อยมีการผลิตมากนัก